การซื้อขายในตลาด Forex หนึ่งในกลยุทธิ์ในการใช้งานเพื่อการซื้อขายนั้นก็คือ Price Action เพราะการดูพฤติกรรมกราฟนั้นก็สำคัญในการวิเคราะห์ทิศทางของราคา บางท่านอาจจะใช้ Indicator ในการวิเคราะห์แต่ Indicator ก็ต้องอาศัยกราฟเคลื่อนไหวไปก่อนแล้ว Indicator ถึงจะสั่งสัญญาณบ่งบอกทิศทางของกราฟได้ ดังนั้นแล้ว Price Action จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการเทรด Forex ทั้งการซื้อขายระยะสั้น หรือระยะยาว วันนี้ทีมงาน Eaforexbroker จะพาทุกท่านมาเรียนรู้ Price Action กัน
- Price Action คืออะไร
- Price Action กับรูปแบบแท่งเทียน
- Price Action มีอะไรบ้าง
Price Action คืออะไร?
Price Action คือ รูปแบบพฤติกรรมของกราฟที่ได้กระทำต่อราคา ซึ่งมีลักษณะต่างๆและส่งผลกับแท่งราคาถัดไป ซึ่งแปลความหมายออกมาเรียกว่า Pattern เป็นการดูพฤติกรรมของกราฟจากกราฟเปล่า เรียกได้ว่า วิเคราะห์กราฟเปล่านั่นเอง
รูปแบบแท่งเทียนที่สำคัญๆ
1.รูปแบบโดจิมังกรบิน (Bullish Dragonfly Doji)
รูปแบบโดจิมังกรบิน เป็นรูปแบบที่มีแท่งเทียนเพียงเล่มเดียวที่ปรากฏขึ้นบนฐานของแนวโน้มขณะที่กำลังอยู่ในขาลง รูปแบบนี้มองดูคล้ายกับตัวอักษร “T” ที่มีราคาปิดและเปิดอยู่ที่ระดับเดียวกันไม่มีลำตัวของแท่งเทียน
2.ป้ายหลุมฝังศพหมี (Bearish Gravestone Doji)
รูปแบบของป้ายหลุมฝังศพเจ้าหมี เกิดขึ้นจากการที่ราคาเปิดและราคาปิดอยู่ที่ระดับต่ำสุดของวัน ซึ่งมองดูคล้ายกับตัวอักษร “T” กลับด้านเกิดขึ้นตอนบนของแนวโน้ม โดยทั่วไปเป็นการส่งสัญญาณว่าแนวโน้มขาขึ้นได้สิ้นสุดลงแล้ว
3.รูปแบบทิ่มแทงภาวะกระทิง (Bullish Piercing)
รูปแบบทิ่มแทงภาวะกระทิง คือรูปแบบการกลับตัวที่ฐานของตลาดแท่งเทียนสีแดงเล่มยาว ที่ตามมาด้วยแท่งเทียนที่เปิดช่องว่างต่ำลงไปในขณะที่ตลาดเป็นขาลงแต่แท่งเทียนเล่มนี้กลับดีดตัวกลับขึ้นมาปิดอย่างแข็งแกร่งด้วยลำตัวสีน้ำเงิน ที่มีราคาปิดเหนือระดับครึ่งหนึ่งของลำตัวแท่งเทียนสีแดงเล่มก่อนหน้า
4.เมฆดำภาวะหมี (Bearish Dark Cloud)
รูปแบบเมฆดำปกคลุม ประกอบไปด้วยแท่งเทียน 2 เล่มที่บ่งบอกถึงสัญญาณการกลับตัว หลังจากที่ตลาดอยู่ในขาขึ้นที่บนยอดสูงของแนวโน้ม เราได้เห็นแท่งเทียนสีน้ำเงินที่วิ่งขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง ตามมาด้วยแท่งเทียนถัดมา ที่มีราคาเปิดสูงกว่ายอดของแท่งเทียนสีน้ำเงินเล่มก่อนหน้าแต่อย่างไรก็ดี ตอนช่วงสุดท้ายราคากลับลงมาปิดที่ระดับต่ำเกินครึ่งหนึ่งของเล่มก่อนหน้า
5.รูปแบบกลืนกินภาวะกระทิง (Bullish Engulfing)
รูปแบบกลืนกินภาวะกระทิงถูกสร้างขึ้นโดยแท่งเทียนสีน้ำเงินที่ครอบคลุมลำตัวของแท่งเทียนสีแดงเล่มก่อนหน้าไว้ทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง แท่งเทียนสีน้ำเงินไม่จำเป็นต้องครอบคลุมไส้เทียนของแท่งเทียนเล่มสีแดง แค่ครอบคลุมลำตัวก็พอแล้ว รูปแบบกลืนกินเป็นสัญญาณที่สำคัญที่บอกถึงการกลับของแนวโน้ม
6.รูปแบบกลืนกินภาวะหมี (Bearish Engulfing)
รูปแบบกลืนกินภาวะหมี ก็คือการที่แท่งเทียนสีแดงลำตัวยาวครอบคลุมแท่งเทียนสีน้ำเงินลำตัวเล็กเล่มก่อนหน้าในแนวโน้มขาขึ้น รูปแบบกลืนกินภาวะหมีให้สัญญาณที่มีความสำคัญต่อการกลับตัวของแนวโน้มบนยอดสูงของตลาด
7.รูปแบบค้อนภาวะกระทิง (Bullish Hammer)
รูปแบบค้อนภาวะกระทิง เป็นแท่งเทียนที่มีนัยสำคัญเกิดขึ้นที่ฐานของแนวโน้มหรือขณะที่แนวโน้มกำลังอยู่ในขาลง ที่เรียกว่าค้อนก็เพราะรูปร่างของมัน ที่มีโครงสร้างของแท่งเทียนที่มีลำตัวเล็กไม่มีไส้เทียนด้านบนและมีหางยาว
8. รูปแบบดาวตกภาวะหมี (Bearish Shooting Star)
รูปแบบดาวตก เมื่อปรากฏขึ้นจะเป็นการเตือนว่าราคาได้มาถึงระดับยอดสูงแล้ว รูปแบบนี้มีโครงสร้างจากแท่งเทียนลำตัวเล็ก มีไส้เทียนด้านบนยาว
9.รูปแบบตั้งท้องภาวะกระทิง (Bullish Harami)
รูปแบบตั้งท้องภาวะกระทิง ประกอบด้วยแท่งเทียนสีแดงที่มีลำตัวยาวตามมาด้วยแท่งเทียนลำตัวเล็กที่เคลื่อนไหวอยู่ภายในช่วงราคาสูงและต่ำของแท่งเทียนเล่มแรก ในกรณีสีของแท่งเทียนรูปแบบตั้งท้องภาวะกระทิงแท่งเทียนสีแดงลำตัวยาวจะครอบคลุมแท่งเทียนสีขาวลำตัวเล็ก นั้นคือการส่งสัญญาณถึงการกลับตัวของแนวโน้มขาลง
10.รูปแบบตั้งท้องภาวะหมี (Bearish Harami)
เป็นรูปแบบของแท่งเทียนที่มีลำตัวยาว ตามมาด้วยแท่งเทียนที่มีลำตัวเล็กที่เคลื่อนไหวในแนวตั้งอยู่ภายในช่วงระยะสูงและต่ำของแท่งเทียนเล่มแรก สีของแท่งเทียนรูปแบบตั้งท้องภาวะหมี แท่งเทียนสีเขียวลำตัวยาวจะครอบคลุมแท่งเทียนสีแดงที่มีลำตัวเล็ก รูปแบบนี้จะให้สัญญาณเตือนถึงการกลับตัวบนของแนวโน้ม
รูปแบบแผนภูมิที่สำคัญๆ
- รูปแบบหัวและไหล่ (Head & Shoulders)
- รูปแบบหัวและไหล่กลับหัว (Inverted Head & Shoulders)
- รูปแบบยอดสูงสองยอด (Double Top)
- รูปแบบฐานคู่ (Double Bottom)
- รูปแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า (Symmetrical Triangle)
1.รูปแบบหัวและไหล่ (Head & Shoulders)
2.รูปแบบหัวและไหล่กลับหัว (Inverted Head & Shoulders)
3.รูปแบบยอดสูงสองยอด (Double Top)
4.รูปแบบฐานคู่ (Double Bottom)
5.รูปแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า (Symmetrical Triangle)
แนวโน้มของตลาด